รายละเอียดข่าว |
: โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases) ได้แก่โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular diseases) และโรคหัวใจขาดเลือด (ischaemic heart diseases) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นของคนไทย ตั้งแต่ปี 2555 ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้มากกว่า 54,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในจำนวนนี้มากกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุ สาเหตุของโรคกลุ่?มนี้เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่?ถูกต้?องเหมาะสม ได?แก่ การรับประทานที่มากเกินพอดี ไม่?สมดุล รับประทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม รับประทาน ผักผลไม้?น้?อยใช้?เครื่องอํานวยความสะดวกมากขึ้น มีกิจกรรมทางกายน้อยลง ไม่?ออกกําลังกาย เครียด และพัก ผ่?อนไม่?เพียงพอประกอบกับการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล?ซึ่งปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพดังกล่าวส่งผลให้?เกิดภาวะนํ้าหนักเกิน อ้?วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวานและนําไปสู่?การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการสำรวจสถานการณ์ ปัญหาสุขภาวะของผู้สูงอายุโดยกรมอนามัย (พ.ศ.2556) พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพด้วยโรคความดันโลหิตสูง 41% โรคเบาหวาน 18%และโรคซึมเศร้า 1% ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่า 95% ได้รับการดูแลรักษา แต่ก็มีผู้สูงอายุมากถึง 55% ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และ 43% ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ที่ผู้สูงอายุไทยปฏิบัติตัวได้น้อยที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 15-30 นาทีเป็นประจำ (57%) ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้วเป็นประจำ (65%) รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ (66%) ไม่ดื่มสุรา/เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (83%) และไม่สูบบุหรี่ (84%) ส่งผลให้ผู้สูงอายุไทยมีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญคือ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ซึ่งพบความชุกสูงถึง 43% ในเพศชาย และ50% ในเพศหญิง โดยปัจจัยป้องกันที่สำคัญ ได้แก่ การออกกำลังกายเป็นประจำและการกินอาหารที่เหมาะสม นอกจากนั้นการสำรวจของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (พ.ศ.2556) พบว่าผู้สูงอายุยังมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกาย (58%) ด้านการมองเห็น(19%)และด้านจิตใจ(3%) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลเมืองพล ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินมาตรการเชิงรุกการตรวจคัดกรองสุขภาพโดยค้นหาปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยการประเมินปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยพร้อมๆ กัน (global risk score) เพื่อทำนายโอกาสเกิดโรคภายในอนาคตข้างหน้า จะทําให้?ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถจัดการตนเองได้ ด้วยการสนับสนุนจาก อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อลดปั?จจัยเสี่ยงและปรับพฤติกรรมสุขภาพให้?ถูกต้องเหมาะสม จะส่?งผลให้?นํ้าหนักตัว ระดับความดันโลหิต ระดับนํ้าตาลและไขมันในเลือดอยู่?ในเกณฑ์?ปกติ นอกจากนั้นการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง สายตาผิดปกติ ภาวะซึมเศร้าและการดูแลอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตและลดภาระสังคมได้ไม่มากก็น้อย ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลเมืองพล จึงได้จัดทำโครงการ ป้องกันภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ต้อกระจก และช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ขึ้น
|